797_1

 

รัชกาลที่ 7

 

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

 

ครองราชย์ 26 พฤศจิกายน พ.. 2468 - 2 มีนาคม พ.. 2477

 

 

798 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

.. 2468

 

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์

 

วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.. 2468 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัย-ธรรมราชา เสด็จขึ้นครองราชย์ (เมื่อทรงเข้าพระราชพีธีบรมราชาภิเษกแล้ว มีพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)

 

2468 - 1 ตั้งร้านจำหน่ายเวชภัณฑ์และเรือนคนไข้รับรักษาที่จังหวัดนครสวรรค์(1)

(โรงพยาบาลนครสวรรค์)

วันที่ 1 ธันวาคม พ.. 2468 เปิดเรือนคนไข้รับรักษา

วันที่ 23 พฤษภาคม พ.. 2469 เปิดร้านจำหน่ายเวชภัณฑ์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์ มีใบบอกที่ 127/5724 วันที่ 10 กรกฎาคม พ.. 2469 ว่า สุขาภิบาลเมืองนครสวรรค์ได้จัดการปลูกสร้างร้านจำหน่ายเวชภัณฑ์ 1 หลัง และเรือนคนไข้ 1 หลัง เป็นจำนวนเงิน 4,000 บาท

 

 

.. 2469

 

2469 - 1 ความร่วมแรงร่วมใจในการช่วยเหลือเมื่อเกิดโรคระบาด

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา พบว่า การระบาดของโรคร้ายแรงต่าง ๆ น้อยลง สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ ความร่วมแรงร่วมใจของประชาชน นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการ บริษัทเอกชน ในการป้องกันโรค บรรเทา และมิให้แพร่ระบาดไปสู่วงกว้าง ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดโรคระบาดสามารถระงับได้ในชั่วระยะเวลาสั้น ๆ นับเป็นปรากฏการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น ดังมีประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นระยะ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

วันที่ 10 พฤษภาคม พ.. 2469

 

เรื่องประทานวังให้เปนที่รักษาผู้ป่วยด้วยอหิวาตกะโรค(2)

ด้วยพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้กรมสาธารณสุขใช้วังเดิมของพระองค์ท่าน ตำบลถนนหลวง เพื่อประโยชน์ในการแยกรักษาผู้ป่วยด้วยอหิวาตกะโรคซึ่งกำลังแพร่หลายอยู่ในขณะนี้ และกรมสาธารณสุข จะเปิดรับผู้ป่วยแต่วันที่ 10 พฤษภาคม ศกนี้ เปนต้นไป จนกว่าจะบอกงด...

 

 

799 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

วันที่ 20 มิถุนายน พ.. 2469

 

แจ้งความกระทรวงมหาดไทย

เรื่องให้อุปกรณ์แก่กรมสาธารณสุขในการระงับอหิวาตกะโรค(3)

ในการระงับและป้องกันอหิวาตกะโรคในพระมหานคร ได้มีพระบรม-วงศานุวงศ์ ข้าราชการ บริษัท และเอกชน ประทานและให้อุปกรณ์แก่กรมสาธารณสุข เพื่อประโยชน์ในราชการ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

1 วันที่ 21 พฤษภาคม สมเด็จพระศรีสวรินิราบรมราชเทวี พระ-พันวัสสามาตุจฉาเจ้า ทรงพระกรุณาประทานยาไอซาลแก่โรงพยาบาลชั่วคราวณ วังเดิมแห่งพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร 12 แกลลอน และประทานแก่โรงพยาบาลบางรัก 12 แกลลอน

โดยพระกรุณาธิคุณอันนี้ แพทย์รักษาการแห่งโรงพยาบาลทั้งสองแห่งได้น้อมเกล้าฯ รับไว้แล้ว และจักได้ใช้ในโรงพยาบาลระหว่างที่มีอหิวาตกะโรคชุกชุมตามพระราชประสงค์...

ในประกาศฉบับนี้ยังมีรายการบริจาครถยนต์สำหรับใช้ในการที่เกิดอหิวาตกโรคระบาดรับ - ส่งผู้ป่วยสภากาชาดสยาม ให้ยืมรถยนต์ มีเครื่องใช้ในการปัจจุบันพยาบาลพร้อมคนขับ ดังความต่อไปนี้

...นายซี. กิมฮะ ให้ยืมรถยนต์คันหนึ่ง ชนิดฟอร์ด 4 สูบ หมายเลข2970 สำหรับรับส่งผู้ป่วยด้วยอหิวาตกะโรคพร้อมทั้งคนขับ...

บริษัทบางกอกด๊อก ให้ยืมรถยนต์คันหนึ่ง ชนิดฟอร์ด ตอน 4 สูบ สำหรับคนนั่งได้ 4 คน หมายเลข 2784 พร้อมทั้งคนขับ

...รองเสวกเอก นายวรกิจบรรหารให้ยืมเรือยนต์ 2 ลำ ลำหนึ่งชื่อเกรอีกลำหนึ่งชื่อเพลต้าพร้อมด้วยคนขับประจำเรือ...

...บริษัทบางกอกแมนูแฟคเจอริง ให้ยืมเรือบรรทุกน้ำหนึ่งลำ วันละ 4 ชั่วนาฬิกา เรือนี้บรรทุกน้ำจุได้ 15 ตัน มีสูบในตัว สำหรับให้กรมสาธารณสุขใช้ในการบรรทุกน้ำไปสูบใส่ถังที่จุตั้งแต่ 400 แกลลอนขึ้นไป ซึ่งมีผู้ตั้งไว้รับน้ำประปา เพื่อแจกจ่ายราษฎรอีกทอดหนึ่ง...

...นายแจ๋ว เจ้าของร้านจักรวรรดิพานิช ได้เอื้อเฟื้อซ่อมรถยนต์ที่ใช้ในการระงับป้องกันอหิวาตกะโรคให้โดยไม่คิดมูลค่า ทั้งได้รับว่าในการซ่อมแซมรถยนต์เหล่านี้สำหรับกาลต่อไป ก็จะช่วยเหลือโดยไม่คิดมูลค่าด้วย...

 

วันที่ 3 ตุลาคม พ.. 2469 มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เรื่องมีผู้ให้วัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคและให้เงินบำรุงโรงพยาบาล มีรายละเอียดดังนี้

 

 

800 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

ในคราวเกิดอหิวาตกะโรคที่แล้วมานี้ กองวิทยาศาสตร์ สภากาชาดสยามได้บอกความจำนงไว้ว่า จะให้วัคซีนป้องกันอหิวาตกะโรคแก่กรมสาธารณสุขโดยไม่คิดค่า มีปริมาณ 2,000,000 ซ..3 ตั้งแต่วันที่ 1เมษายน ศกนี้เปนต้นมา เพื่อใช้ในการป้องกัน แต่อหิวาตกะโรคได้สงบลงเร็ว กรมสาธารณสุขจึงใช้วัคซีนของกองวิทยาศาสตร์สิ้นไปเพียง 338,600 ซ..3 คิดเปนราคา 16,930บาท...

 

2469 - 2 ตั้งโรงพยาบาลมณฑลปัตตานี(4)

วันที่ 10 มิถุนายน พ.. 2469 สมุหเทศาภิบาลมณฑลปัตตานีมีใบบอกที่ 44/1757ว่า มหาเสวกโท หม่อมเจ้าสฤษดิเดช สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ได้ส่งเงิน 6,000 บาทของพระยารัษฎาธิราชภักดีแห่งเมืองปีนังมาช่วยบำรุงโรงพยาบาลมณฑลปัตตานีที่กำลังก่อสร้างอยู่

 

2469 - 3 การจัดการเรื่อง Municipality(5)

วันที่ 12 สิงหาคม พ.. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหัตถเลขาที่ 9/301 ทูลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ขอให้ทรงจัดการวางโครงการ จัดเรื่องประชาภิบาล (Municipality)

 

2469 - 4 ตั้งโรงพยาบาลจังหวัดสุพรรณบุรี(6)

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.. 2469 สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรีมีใบบอกที่ 263/3734 ว่า มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช ได้จัดการสร้างโรงพยาบาลขึ้น 1 หลังที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นตึก 2 ชั้น มีเครื่องใช้และเครื่องมือผ่าตัดพร้อม มอบให้อยู่ในความปกครองของสุขาภิบาลเมืองสุพรรณบุรี

 

วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.. 2469 มหาอำมาตย์ตรี หม่อมเจ้าสกลวรรณากร อธิบดีกรมสาธารณสุข เสด็จไปเปิดโรงพยาบาลนี้

 

 

.. 2470

 

2470 - 1 ตราพระราชบัญญัติหางน้ำนม พุทธศักราช 2470(7)

พระราชบัญญัติเกี่ยวกับอาหารฉบับแรก

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.. 2470 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สั่งว่า

โดยที่แพทย์ผู้ทรงไว้ซึ่งคุณวุฒิและความสามารถได้ลงความเห็นแล้วว่าหางน้ำนมนั้น เมื่อใช้เลี้ยงทารกก็นำให้เกิดความมีอาหารไม่พอเลี้ยงร่างกายและโรคร้ายแรงต่าง ๆ และในเวลานี้ ปรากฏว่ามีผู้ใช้หางน้ำนมเลี้ยงทารกแพร่หลายในพระราชอาณาจักร

 

 

801 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติหางน้ำนม พุทธศักราช 2470 จึงระบุห้ามไม่ให้ทำหรือนำหางน้ำนมเข้ามาขายในประเทศสยาม

 

2470 - 2 การตั้งสภาการสาธารณสุขประจำชาติ(8)

วันที่ 15 เมษายน พ.. 2470 ร่างพระราชบัญญัติสภาการสาธารณสุขประจำชาติ พ.. 2469 นิยามคำว่าสาธารณสุขดังนี้

 

...การสาธารณสุข หมายความว่า งานหรือกิจการประเภทหนึ่งประเภทใดซึ่งต้องอาศัยวิชาความรู้ในทางสาธารณสุขโดยเฉพาะ ซึ่งกระทำด้วยความประสงค์ที่จะป้องกันอันตรายและบำรุงชีวิตให้ยืนนาน...

และในร่างกฎหมายฉบับภาษอังกฤษบัญญัติว่า

 

...“Public Health Activity” as mentioned in this law shall mean any work or activities involving special technical knowledge and experience in public health, undertaken with the purpose of preventing sickness and decay and to save and to prolong life…

แต่ผู้แทนสภากาชาดสยามแย้งว่า นิยามไม่ชัดเจน ไม่ควรบัญญัติไว้ จึงถอดออกไป อย่างไรก็ตาม จากการนิยามคำว่าการสาธารณสุขทำให้เห็นเป้าหมายและขอบเขตการดำเนินการในเวลานั้น โดยทางคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลโต้แย้งว่า ไม่ควรรวม Medical Education ไว้ใน Medical Service ที่เป็นวัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้

 

วันที่ 9 มิถุนายน พ.. 2470 นายพลเอก สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มีหนังสือกราบบังคมทูลที่ 3/2597 เรื่องการตั้งด่านกักโรคทางทะเล

 

ปรึกษาในเสนาบดีสภาตามพระบรมราชโองการแล้ว ตกลงกันว่า เรื่องนี้จำต้องพิจารณาถึงประโยชน์เกี่ยวกับการพาณิชย์และการสาธารณสุข เมื่อมีข้อโต้เถียงเช่นนี้แล้ว ไม่มีหนทางอย่างใดดีไปกว่าที่จะตั้งสภาการสาธารณสุขประจำชาติ ขึ้น และให้มีหน้าที่พิจารณาเหตุติดขัดเหล่านี้โดยถี่ถ้วน แล้วทำความเห็นขึ้นกราบบังคมทูลเรียนพระราชปฏิบัติต่อไป

 

วันที่ 15 สิงหาคม พ.. 2470 ประชุมเสนาบดี ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ปรึกษาเรื่องการตั้งสภาการสาธารณสุข มีพระดำรัสเรื่องตามมาตรา 2 ของร่างฯ สภาการสาธารณสุขมีฐานะเป็นเหมือนกรมหนึ่งซึ่งมีหน้าที่บังคับบัญชากรมสาธารณสุข แต่ทรงเข้าพระราชหฤทัยว่าไม่ได้หมายความว่า กรมสาธารณสุขอยู่ใต้บังคับของสภานี้ และเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย

 

 

802 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

กราบบังคมทูลว่า ตั้งใจจะให้เป็น สภาที่ปรึกษาในการสาธารณสุขเท่านั้น และไม่ใช่นิติบุคคล ไม่ใช่กรม

ในมาตรา 5 ของร่างฯ ฉบับวันที่ 9 เมษายน พ.. 2470 บัญญัติว่าเมื่อรัฐบาลจะรับรองหรือช่วยทบวงการทั้งฝ่ายราชการและฝ่ายเชลยศักดิ์รายหนึ่งรายใด ซึ่งทำกิจการ หรือดำริจะทำกิจการสาธารณสุข หรือการบำบัดโรค ทบวงการรายนั้นจักต้องเสนอโครงการให้สภาการสาธารณสุขประจำชาติพิจารณาเสนอความเห็นเสียก่อนในมาตรา 5 นี้มีความมุ่งหมายถึง Rockefeller Foundation คือต้องการให้ Rockefeller Foundation ปรึกษาก่อนจะดำเนินการเรื่องใดลงไป

 

อย่างไรก็ตาม หลวงนรราชฯ ให้ความเห็นโดยรวมของร่างฯ ฉบับนี้ว่า

 

...สรุปความ - สภานี้แทบไม่มีประโยชน์อะไรเปนพิเศษ แม้ว่าไม่มีสภา เสนาบดีมหาดไทยในหน้าที่ผู้บังคับบัญชากรมสาธารณสุข ก็อาจเชิญคณะแพทย์ให้แต่งผู้แทนมาประชุมปรึกษาการงานได้เสมอ หน้าที่สภานายกดูเหมือนจะเปนประโยชน์เฉพาะ secretarial work เท่านั้น

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ

หลวงนรราช

 

หมายเหตุ

แม้ว่าการตั้งสภาการสาธารณสุขประจำชาติไม่ค่อยมีบทบาทสำคัญต่อการสาธารณสุขเท่าใดนัก แต่การจัดตั้งสภาการสาธารณสุขประจำชาติแสดงให้เห็นถึงความพยายามบูรณาการอำนาจการจัดการการสาธารณสุขที่กระจายอยู่ในหลายหน่วยงานให้รวมอยู่ในหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง จึงตั้งเป็นสภานี้ขึ้นมา แต่ด้วยลักษณะสภาเป็นเพียงแค่ที่ปรึกษา ไม่มีอำนาจใด ๆ จึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาการจัดการสาธารณสุขแบบครบวงจรได้ จนกระทั่ง พ.. 2485 จึงมีการตัดโอนอำนาจหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวกับสาธารณสุขมารวมกัน แล้วจัดตั้งเป็นกระทรวงหนึ่งคือ กระทรวงสาธารณสุข จึงสามารถแก้ไขปัญหาได้ถาวร

วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.. 2470 รายงานประชุมอภิรัฐมนตรี ครั้งที่ 25 เรื่องการจัดสุขาภิบาลตามหัวเมือง ซึ่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจะขอโอนรายได้ประเภทอาชญาบัตรฆ่าสัตว์ไปเป็นรายได้ของสุขาภิบาลในท้องที่บางแห่ง มีการพูดถึงการ Control การใช้เงิน วิธีตรวจสอบ Auditor บัญชี, Municipal Enterprise, Municipality, Local Government, กรมบุราภิบาล

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.. 2470 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งกรรมการจัดการประชาภิบาล (Municipality) ดังนี้

1. นายอาร์. ดี. เครก ประธานกรรมการ

2. อำมาตย์เอก พระกฤษณามรพันธ์ ผู้ชำนาญการบัญชี

3. พระยาจินดารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม

4. นายบุญเชย ปิตรชาติ เลขานุการ
803 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย


กรรมการชุดนี้มีหน้าที่จัดทำโครงการ Municipality โดยในสมัยนี้แปล Municipality ว่าประชาภิบาล และยังไม่ได้เรียกว่าเทศบาล

 

2470 - 3 ประเทศไทยเข้าร่วมอนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 3(9)

วันที่ 27 กรกฎาคม พ.. 2472 ผู้แทนฝ่ายไทยได้ลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อยังการเป็นไปของผู้ต้องบาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทัพให้ดีขึ้น (ต่ออายุอนุสัญญาเจนีวา ร.. 125) และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก (อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 3) ซึ่งได้ลงนามกัน ณ เมืองเจนีวา เป็นรัฐภาคีในอนุสัญญาเจนีวา

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.. 2481 อนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร

วันที่ 3 มิถุนายน พ.. 2482 ได้มีพระราชสัตยาบันสาส์น (ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.. 2481) มอบไว้กับรัฐบาลสวิส

วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.. 2482 มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับในประเทศไทยในราชกิจจานุเบกษา ตามผลผูกพันของข้อ 33 แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อยังการเป็นไปของผู้ต้องบาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทัพให้ดีขึ้น และข้อ 92 แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก

วันที่ 3 ธันวาคม พ.. 2482 อนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับมีผลบังคับใช้ในราชอาณาจักร

 

 

.. 2471

 

 

2471 - 1 ตั้งโอสถสภาจังหวัดสุราษฎร์ธานี(10) (โรงพยาบาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี)

สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชแจ้งมาว่า จังหวัดสุราษฎร์ธานีแต่เดิมมายังไม่มีโอสถสภาเป็นหลักฐานมั่นคง เห็นว่าจวนสมุหเทศาภิบาลซึ่งว่างอยู่เพราะการยุบมณฑลควรจะซ่อมแซมขึ้นเป็นโอสถสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงได้ชักชวนพ่อค้าและคหบดีช่วยกันบริจาคทรัพย์ตามศรัทธา ได้เงินรวมทั้งสิ้น 4,105 บาท 64 สตางค์ ได้เปิดทำการมาตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.. 2471

 

 

804 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

.. 2472

 

2472 - 1 ตั้งโอสถสภาจังหวัดปทุมธานี(11) (โรงพยาบาลจังหวัดปทุมธานี)

วันที่ 15 เมษายน พ.. 2472 สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยามีใบบอกว่า จังหวัดปทุมธานียังไม่มีโอสถสภา ต้องอาศัยทำการรวมกับที่พักแพทย์ อำมาตย์ตรี พระบริหารเทพธานี (เฉลิม กาญจนาคม) ผู้ว่าราชการจังหวัด จัดการเรี่ยไรได้เงิน 5,221 บาท 88 สตางค์ กระทรวงพระคลังซื้อที่พักแพทย์ราคา 6,000 บาท ได้เงินรวม 11,221 บาท 88 สตางค์ ไปซื้อที่ดินแห่งใหม่ สร้างโอสถสภา 1 หลัง ที่พักแพทย์ 1 หลัง ที่พักคนไข้ 1 หลัง เปิดใช้ราชการเมื่อ4 - 5 เดือนก่อน

 

2472 - 2 พระราชบัญญัติการแพทย์เพิ่มเติม(12) และกฎเสนาบดี(13)

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.. 2472 ประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติการแพทย์เพิ่มเติม โดยตัดสัตวแพทย์ออกจากการควบคุมกำกับ และให้ความสำคัญกับการรับรองความรู้ความสามารถด้วยใบประกาศนียบัตรจากกระทรวงธรรมการหรือเทียบเท่า จะได้รับอนุญาตชั้นสูงสุดของสาขาที่ได้รับประกาศนียบัตรนั้น

วันที่ 6 มิถุนายน พ.. 2472 กระทรวงมหาดไทยออกกฎเสนาบดี (กฎกระทรวง) เพื่อกำหนดรายละเอียดวิธีการควบคุมกำกับผู้ประกอบโรคศิลปะ โดยแบ่งออกเป็นประเภทการประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน (ใช้หลักวิทยาศาสตร์) และการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ (ไม่ใช้หลักวิทยาศาสตร์) และกำหนดวิธีการควบคุมของการประกอบโรคศิลปะแต่ละประเภท

 

2472 - 3 ให้ปริญญาแพทย์(14) - ปริญญาแรกในประวัติศาสตร์การศึกษาไทย

วันที่ 25 พฤษภาคม พ.. 2472 มหาอำมาตย์เอก พระองค์เจ้าธานีนิวัต เสนาบดีกระทรวงธรรมการ มีหนังสือที่ 53/1777 เรียนมหาเสวกเอก เจ้าพระยามหิธร ราชเลขาธิการความว่า

...จำเดิมแต่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.. 2459 และต่อมาโดยโปรดเกล้าฯ ให้ยกโรงเรียนราชแพทยาลัยมาขึ้นอยู่ในจุฬาลงกรณ-มหาวิทยาลัยเปน คณะแพทยศาสตร์นั้น การศึกษาในทางแพทย์ได้เจริญขึ้นโดยลำดับ ครั้นเมื่อมีการร่วมมือกับรอคคะเฟลเลอร์มูลนิธิ กระทรวงธรรมการจึงได้แก้ไขหลักสูตรใหม่ให้มีแพทย์ปริญญาชั้น Medicine Baccalaureus(15) และยังจะมีชั้น Medicine Doctor ต่อไปข้างหน้าโดยความตกลงเห็นชอบแห่งมูลนิธิที่กล่าวนามมาแล้วนั้น ถึง ศก 2471 นักเรียนชั้นปริญญาได้เรียนจบลง 18 คน สอบไล่ได้ 18 คน ถึงเวลาแล้วที่จะมีการให้ปริญญาแก่นักเรียนเหล่านี้
805 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย


...ในชั้นเดิมข้าพเจ้าได้ร่างประกาศดำเนิรกระแสพระบรมราชโองการพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มหาวิทยาลัยตั้งปริญญาได้ เพื่อให้ปริญญาของเรามีฐานะที่จะยังความเลื่อมใสเชื่อถือในนานาประเทศ แต่เมื่อได้ปรึกษาหารือกันแล้ว เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเห็นว่า ไม่ควรประกาศดังนั้นเพราะเมื่อได้พระราชทานสถาปนาขึ้นไว้แล้ว ย่อมต้องเข้าใจกันอยู่เองว่า มหาวิทยาลัยนั้นมีอำนาจที่จะให้ปริญญาได้ แต่ถ้าจะมีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยในเวลาต่อไปแล้ว ก็เห็นด้วย...วันประชุมใหญ่ของมหาวิทยาลัย (วันที่ 1 มิถุนายน) ก็ใกล้เข้ามาแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอพระราชทานพระบรม-ราชานุญาตให้จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยให้ปริญญาแพทย์ชั้น Medicine Baccalaureus ในคราวนี้ครั้งหนึ่งก่อน เปนพิเศษ ดังร่างประกาศนียบัตรที่แนบมานี้ และจะได้ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย มาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตออกใช้ในระวางปีนี้สำหรับการต่อไป...

วันที่ 4 มิถุนายน พ.. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหัตถเลขาที่ 3/158 ความว่า

...ตามหนังสือที่ 53/1777 ลงวันที่ 25 เดือนก่อน ขออนุญาตให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ปริญญาแพทย์ชั้น Medicine Baccalaureus แก่นักเรียนคณะแพทยศาสตร์ 18 คน ซึ่งสอบไล่ได้ใน พ.. 2471 คราวหนึ่งเปนพิเศษ ดังเหตุผลที่ชี้แจงมานั้น ทราบแล้ว อนุญาต

ประชาธิปก ป..

 

2472 - 4 โครงการปรับปรุงก่อสร้างโรงพยาบาลกลาง(16)

วันที่ 28 มิถุนายน พ.. 2472 จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรฯ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อสร้างโรงพยาบาลกลางใหม่ เป็นตึก 3 ชั้น สร้างเป็นตอน ๆ ไป กำหนด 4 คราวเสร็จ งบประมาณ 500,000 บาท โดยโรงพยาบาลกลางมีหน้าที่รักษาทั่วไปและมีหน้าที่เพิ่มเติมพิเศษเฉพาะคือ

 

รักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บหรือภัยอันตรายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคดี

ซึ่งตำรวจส่งมาให้ตรวจรักษาและ ลงความเห็นในทางนิติเวชวิทยา...

 

วันที่ 3 ตุลาคม พ.. 2472 รายงานประชุมสภาการคลังกล่าวถึงว่า โรงพยาบาลกลางเป็น Police Hospital หากคิดจะรักษาคนไข้ทั่วไปแบบ General Hospital จะแข่งกับโรงพยาบาลอื่น ๆ ในชั้นนี้ควรจัดเป็น Police Hospital อย่างเดียว ที่ประชุมเห็นชอบ โครงการจึงระงับไป เหลือแต่การซ่อมแซมตึกเก่า

 

 

806 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

2472 - 5 ส่งแพทย์ไปดูงานกามโรคที่กัวลาลัมเปอร์และสิงคโปร์(17)

วันที่ 3 ตุลาคม พ.. 2472 กระทรวงมหาดไทยจะส่งแพทย์กรมสาธารณสุข 2 นาย คือ 1. รองอำมาตย์โท ขุนสถิตเวชชศาสตร์ และ 2. รองอำมาตย์โท กิ่ง รัตนสาขา (ต่อมาเป็นขุนรัตนเวชสาขา) ไปดูงานบำบัดรักษากามโรคเพื่อประโยชน์แก่การบำบัดกามโรคในกรุงสยาม ซึ่งจะได้จัดให้มีขึ้นที่สุขศาลาบางรักในเวลาอันเร็วนี้โดยไปดูงานกามโรคที่กัวลาลัมเปอร์และสิงคโปร์เป็นเวลา 6 เดือน

 

2472 - 6 การปกครองลักษณะเทศบาล(18)

วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.. 2472 มหาอำมาตย์ตรี หม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณอธิบดีกรมสาธารณสุข ทรงแสดงการปกครองลักษณะเทศบาลในที่ประชุมสมุหเทศาภิบาลสรุปใจความสำคัญว่า

- คำปรารภ : เมื่อสัก 20 ปีมานี้ (ราว พ.. 2452) สมเด็จพระ-พุทธเจ้าหลวงพระราชทานพระราชกระแสฉบับหนึ่ง มายังกระทรวงมหาดไทย ในลายพระราชหัตถเลขาฉบับหนึ่งทรงทำนายไว้ว่า รูปแบบการปกครองท้องที่ซึ่งเรียกตามภาษาอังกฤษว่ามยูศิยาลิตี้” (Municipality) จำต้องเข้าสยามในไม่ช้า (เดิมพระอภัยราชาเคยกราบบังคมทูลให้จัดตั้ง พ.. 2437 แต่ยังไม่พร้อม เพราะติดขัดเรื่องการบังคับกฎหมายคนในปกครองของอังกฤษในสยามจึงจัดแบบการสุขาภิบาลไปก่อน) มีพระราชดำริว่า เป็นปัญหาจักคิดเตรียมการเผื่อไว้แต่ในขณะนี้ พระราชกระแสนี้เกี่ยวด้วยกับการจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง (เฉพาะหัวเมือง - สุขาภิบาลในกรุงเทพฯ ไม่มีลักษณะปกครองแบบนี้)ซึ่งนับว่าเป็นการดำเนินก้าวที่หนึ่งไปสู่ ลักษณะปกครอง ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าเทศบาล

- “เทศบาลคืออะไร คำว่าเทศบาลประกอบขึ้นด้วยคำสันสกฤตสองคำ คือเทศแปลว่า ถิ่น และบาลแปลว่า ปกครอง แต่ในที่นี้จะจำกัดความให้แคบกว่าการปกครองท้องที่โดยเบ็ดเสร็จ หมายถึงการปกครองชุมนุมชน

- ในทางกฎหมาย เทศบาล คือ การปรุงแต่งราษฎรในท้องที่แห่งหนึ่งแห่งใดขึ้นเป็นนิติบุคคลโดยอำนาจรัฐบาล และในฐานะนิติบุคคลดั่งว่านี้ รัฐบาลอนุญาตให้ใช้อำนาจซึ่งระบุไว้โดยกฎหมาย ในอันที่จะออกอนุบัญญัติ (ระเบียบข้อบังคับอันเป็นกฎหมายลูก) เกี่ยวด้วยกิจการภายในเขตท้องที่คนในทางปกครองเทศบาล

- กรรมการ (.. 2470) ได้ลงความเห็นว่าควรให้กรรมการหัวเมืองมีอำนาจควบคุมกิจการสำคัญของเทศบาล เช่น งบประมาณ เป็นต้น

 

 

807 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

หมายเหตุ

คำว่าเทศบาร หรือเทศบาล จึงเป็นคำที่บัญญัติไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 กล่าวคือ เมื่อปี พ.. 2437เจ้าพระยาอภัยราชากราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า พวกชาวต่างประเทศมักจะติเตียนว่า กรุงเทพฯ ยังสกปรกและไม่มีถนนหนทางสำหรับประชาชน จึงถวายข้อแนะนำให้จัดมูนิสิเปอล (Municipal - เทศบาล) คือ เรื่องการจัดตั้งเทศบาล แต่ยังจัดไม่ได้ เพราะติดหนังสือสัญญากับต่างประเทศในข้อที่ระบุว่า ถ้ารัฐบาลไทยจะตั้งกฎหมายใดที่มีผลบังคับถึงชาวต่างประเทศ จะต้องแจ้งให้รัฐบาลต่างประเทศผ่านทางกงสุลทราบก่อน เช่น พระราชบัญญัติสยามออเดออินเคาน์ซิล - Siam Order in Council” (ดูเอกสาร 2429 - 3 สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งอังกฤษ ประกาศพระราชบัญญัติสยามออเดออินเคาน์ซิล” Siam Order in Council) จึงเปลี่ยนเป็นจัดตั้งสุขาภิบาล (Sanitary) ขึ้นแทน

ต่อมาเมื่อปี พ.. 2440 ได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติกำหนดชื่อกฎหมาย(19) ได้มีการกำหนดความหมายของคำว่า “Municipality แปลว่า เทศบาร (คือ เทศบาล) หรือประชุมชนไว้ในรายงานเสนอรัฐมนตรีสภา ในสมัยรัชกาลที่ 7 ประมาณปี พ.. 2470 ได้มีการประชุมสมุหเทศาภิบาล อธิบดีกรมสาธารณสุขเป็นผู้รับผิดชอบการสุขาภิบาลหัวเมือง จึงนำเรื่องการจัดตั้งเทศบาล (Municipality) เข้าหารือ ใน พ.. 2472 มหาอำมาตย์ตรี หม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ อธิบดีกรมสาธารณสุข ทรงอธิบายรายละเอียดของเทศบาลในที่ประชุมสมุหเทศาภิบาล และเผยแพร่ข้อมูลรายละเอียดในหนังสือพิมพ์บางกอกน้อย เรื่องการปกครองโดยลักษณะเทศบาลติดต่อกัน 3 ฉบับ คือ ฉบับวันที่ 19 - 20 - 25 สิงหาคม พ.. 2472 ตามลำดับ

 

วันที่ 28 เมษายน พ.. 2474 หนังสือพิมพ์ The New York Times ฉบับประจำวันที่ 28 เมษายน พ.. 2474 ได้ตีพิมพ์พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ต้องการให้ประเทศไทยมีการปกครองท้องถิ่น เพื่อทำการปกครองตนเองขึ้นตามแบบอย่างประเทศตะวันตกที่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ซึ่งมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า

...เรากำลังเตรียมออกพระราชบัญญัติเทศบาลขึ้นมาใหม่ เพื่อทดลองเกี่ยวกับสิทธิเลือกตั้งภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายนี้ ประชาชนจะมีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลข้าพเจ้าเห็นว่าสิทธิการเลือกตั้งของประชาชนควรจะเริ่มต้นที่การปกครองท้องที่ในรูปเทศบาล ข้าพเจ้าเชื่อว่าประชาชนควรจะมีสิทธิมีเสียงในกิจการของท้องถิ่น เรากำลังพยายามให้การศึกษาเรื่องนี้แก่เขา ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นการผิดพลาด ถ้าเราจะมีการปกครองระบอบรัฐสภาก่อนที่ประชาชนจะมีโอกาสเรียนรู้ และมีประสบการณ์อย่างดีเกี่ยวกับการใช้สิทธิเลือกตั้งในกิจการปกครองท้องถิ่น(20)

แต่ยังไม่ทันประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยเทศบาล ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตยเสียก่อนในปี พ.. 2475 ต่อมาในปี พ.. 2476 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่ถึงหนึ่งปี คณะราษฎรจึงประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.. 2476 ซึ่งคือร่างกฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริจัดทำไว้ก่อนหน้าแล้ว

 

 

808 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

.. 2473

 

2473 - 1 ตั้งโอสถสภาจังหวัดสระบุรี(21) (โรงพยาบาลจังหวัดสระบุรี)

มหาอำมาตย์โท พระยาโบราณราชธานินทร์ เมื่อครั้งยังเป็นสมุหเทศาฯ ได้ดำริจะสร้างโอสถสภาให้เป็นบรมราชานุสรณ์ขึ้นที่จังหวัดสระบุรี จึงได้นำเงินเหลือฝากธนาคารรวมดอกเบี้ย 4,806 บาท 56 สตางค์ พร้อมเรี่ยไรและสลากลุมพินีของจังหวัด ได้เงินรวม 27,226 บาท 64 สตางค์ สร้างโอสถสภาจังหวัดสระบุรี ขนานนามว่าโอสถสภาปัญจมาธิราชอุททิศถวายเป็นพระราชกุศล

 

2473 - 2 ตั้งโอสถสภาจังหวัดบุรีรัมย์(22) (โรงพยาบาลจังหวัดบุรีรัมย์)

วันที่ 1 เมษายน พ.. 2473 ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์เรี่ยไรเงินจากราษฎรรวม 3,042 บาท 64 สตางค์ สร้างโอสถสภ 1 หลัง พร้อมด้วยเรือนพักคนไข้ ครัว และส้วม ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.. 2473 ถวายเป็นพระราชกุศล

 

2473 - 3 พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม(23)

วันที่ 25 ตุลาคม พ.. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ-พระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรก

 

ในพิธีครั้งนั้นมีลำดับขั้นตอนดังนี้ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ (มหาอำมาตย์เอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร) ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยบัณฑิตพิเศษแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานครุยกิตติมศักดิ์แก่ข้าราชการของมหาวิทยาลัยสองท่าน คือ บัณฑิตชั้นโท (เทียบเท่ามหาบัณฑิตในปัจจุบัน) ทางวิทยาศาสตร์แก่พระยาภะรตราชา ผู้บัญชาการ และบัณฑิตชั้นเอก (เทียบเท่าดุษฎีบัณฑิตในปัจจุบัน) แก่ศาสตราจารย์ นพ.เอ. จี. เอลลิส (A. G. Ellis) คณบดีคณะแพทยศาสตร์ (ต่อมาเป็นอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.. 2478) ต่อจากนั้นผู้บัญชาการของมหาวิทยาลัยกล่าวกถาญัตติกรรมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานประกาศนียบัตร บัณฑิตใหม่กล่าวคำปฏิญญา พระบาท-สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานรางวัลเหรียญทองและเหรียญเงินสำหรับผู้ได้คะแนนยอดเยี่ยมตลอดหลักสูตร 4 ปี เหรียญทองแดงสำหรับผู้ได้คะแนนเป็นที่ 1 ในแผนกอายุรศาสตร์ แผนกศัลยศาสตร์ แผนกสูติศาสตร์ แผนกพยาธิวิทยา แผนกสรีรวิทยา และแผนกกายวิภาควิทยา ทั้งในปี พ.. 2471 และ 2472 ทั้งนี้เนื่องจากมีผู้สำเร็จการศึกษาใน พ.. 2471 จำนวน 18 คน ใน พ.. 2472 จำนวน 16 คน รวมทั้งสิ้นเป็นเวชชบัณฑิต (แพทยศาสตรบัณฑิตในปัจจุบัน) 34 คน ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราโชวาท ถวายไทยธรรมแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ถวายอดิเรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม-ราชินี เสด็จพระราชดำเนินกลับ

 

 

809 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

809_1

 

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี

เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรเวชชบัณฑิต (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแพทยศาสตรบัณฑิต)

เป็นวาระแรก เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.. 2473

ที่มา : หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

809_2

เวชชบัณฑิต

 

810 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

.. 2474

 

2474 - 1 ตั้งโอสถสภาจังหวัดกระบี่(24) (โรงพยาบาลจังหวัดกระบี่)

วันที่ 7 พฤษภาคม พ.. 2474 ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่จัดการเรี่ยไรเงินได้ 4,700 บาท สร้างโอสถสภา 1 หลัง เปิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.. 2474

 

2474 - 2 โรงพยาบาลจังหวัดอ่างทอง(25)

วันที่ 14 มิถุนายน พ.. 2474 มณฑลอยุธยามีใบบอกว่า โอสถสภาจังหวัดอ่างทองเดิมรวมอยู่กับที่พักแพทย์ ไม่สะดวกหลายประการ ประชาชนจึงเรี่ยไรเงินรวมกันได้ 7,757 บาท94 สตางค์ สร้างโอสถสภาขึ้น 1 หลัง ถวายเป็นพระราชกุศล

 

 

.. 2475

 

2475 - 1 การปลดนายทหารและรายชื่อข้าราชการกรมแพทย์สุขาภิบาลทหาร

พุทธศักราช 2475(26)

วันที่ 2 มีนาคม พ.. 2474 (นับแบบปัจจุบัน พ.. 2475) กรมหลวงสิงหวิกรม-เกรียงไกร เสนาบดีกลาโหม มีหนังสือกระทรวงกลาโหมที่ 15151/74 กราบบังคมทูลพระบาท-สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องการจัดการกองทัพบก กองทัพเรือ ให้ค่าใช้จ่ายเข้าสู่ดุลยภาพ โดยกระทรวงกลาโหมได้จัดการยุบตำแหน่ง ยุบหน่วยงาน และประกาศบัญชีปลดนายทหารออกจากประจำการเป็นจำนวนมาก โดยยังได้รับเงินเดือนมีนาคม พ.. 2474 (นับแบบปัจจุบัน พ.. 2475) เต็มเดือน

และประกาศบัญชีนายทหารที่คงเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง โดยประกาศบัญชีรายชื่อข้าราชการ กรมแพทย์สุขาภิบาลทหาร ดังนี้

กรมแพทย์สุขาภิบาลทหาร

นายแพทย์ใหญ่ทหาร                 พล..พระยาวิบุลอายุรเวท

ปลัด                                       ..อนุชิตพิทักษ์

หัวหน้าแผนกที่ 1                      ..พระสัมฤทธิ์เวชชศาสตร์

หัวหน้าแผนกที่ 2                      (ว่าง)

ผู้อำนวยการโรงเรียนแพทย์ทหารบก         ..พระยาดำรงแพทยาคุณ (กิตติมศักดิ์)

ผู้บังคับการกรมเสนารักษ์ราชนาวี            ..หลวงไชยชนะพยาธิ์

 

 

811 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

2475 - 2 คณะราษฎรปฏิวัติและยึดอำนาจการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.. 2475

วันที่ 24 มิถุนายน พ.. 2475 คณะราษฎรปฏิวัติยึดอำนาจและเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) ไปเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy)

 

หมายเหตุ

มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า จากการศึกษาสำรวจบัญชีเอกสารราชการประเภทต่าง ๆ ในสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติพบว่า เอกสารราชการหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.. 2475 มีเนื้อหาไม่ต่อเนื่องกับเอกสารราชการสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สันนิษฐานว่าเป็นเพราะรัฐบาลคณะราษฎรยึดเอกสารราชการสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเก็บไว้ทั้งหมด อีกทั้งมีข้อสังเกตว่า เอกสารราชการรัฐบาลคณะราษฎรในระยะแรกจึงขาดความสมบูรณ์และมีจำนวนน้อยลงกว่าเดิมมาก ต่อมาจึงค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้น ที่สำคัญคือ ไม่มีรายงานวิเคราะห์เหตุผลความเป็นมาของการสั่งราชการนั้น ๆ ก่อนหน้า จะใช้วิธีสั่งดำเนินการและปฏิบัติไปเลยแบบทหารจึงแตกต่างจากเอกสารราชการสมัยรัชกาลที่ 5 ที่จะมีรายงานวิเคราะห์ (รายงานจัดราชการ) ล่วงหน้า

ช่วงระหว่าง พ.. 2475 ถึงราว พ.. 2490 รัฐบาลคณะราษฎรใช้วิธีรวบอำนาจบริหารสำคัญของกระทรวงต่าง ๆ มาไว้ที่ศูนย์กลาง คือ คณะรัฐมนตรี เอกสารราชการกระทรวงต่าง ๆ ที่สำคัญจึงมารวมอยู่ในหมวดเอกสารจดหมายเหตุของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หลังจากราว พ.. 2490 ไปแล้ว คณะรัฐมนตรีได้กระจายอำนาจกลับไปยังกระทรวงให้สั่งราชการตามเดิม เอกสารกระทรวงจึงเพิ่มจำนวนขึ้นหลัง พ.. 2490 ไป

อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตนี้อาจคลาดเคลื่อน แต่ก็เป็นประโยชน์แก่ผู้สืบค้นภายหลัง จะได้ตระหนักว่าบัญชีเอกสารจดหมายเหตุในสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติแตกต่างกันในแต่ละรัชสมัย ขึ้นอยู่กับวิธีการบริหารปกครองบ้านเมืองในระยะนั้น ๆ การสืบค้นบัญชีเอกสารจดหมายเหตุจึงต้องปรับเปลี่ยนตามรัชสมัยนั้น ๆ

 

2475 - 3 อนุกรรมการวางโครงการสาธารณสุข คณะกรรมการราษฎร(27)

วันที่ 16 กรกฎาคม พ.. 2475 กรรมการคณะกรรมการราษฎรมีหนังสือเรียนประธานคณะกรรมการราษฎร ความว่า

...ด้วยโครงการสาธารณสุขในเวลานี้ยังไม่ลงระเบียบและยังบกพร่องอยู่เป็นส่วนมาก ข้าพเจ้าขอประทานเสนออนุกรรมการคณะหนึ่ง เพื่อวางโครงการสาธารณสุข คือ

1.     พระชาญวิธีเวทย์ 2. พระเชษฐ์วิธีการ 3. หลวงเฉลิมคัมภรีเวชช์4. นายพันตรี หลวงสนิทรักษสัตว์ 5. หลวงประพันธ์ไพรัชพากย์ 6. นายประยูร ภมรมนตรี...

 

วันที่ 16 เมษายน พ.. 2476 ประธานคณะกรรมการราษฎรตอบว่า

ตกลงให้รอไว้เพราะคิดจะเปลี่ยนอธิบดีอยู่ในเวลานี้และจะตกลงเด็ดขาดได้ในเร็ววัน

 

 

812 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

.. 2476

 

2476 - 1 สันนิบาตกาชาดขอทราบการอุดหนุนและเอกสิทธิ์ที่สภากาชาดสยาม

ได้รับจากรัฐบาล(28)

วันที่ 9 มกราคม พ.. 2476 The League of Red Cross Societies, Paris มีจดหมายสอบถามสภากาชาดสยาม เรื่องเอกสิทธิ์และการอุดหนุนของรัฐบาล

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.. 2476 อุปนายกสภากาชาดสยามมีหนังสือเรียนถามพระยา-มโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี

วันที่ 7 มีนาคม พ.. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี มีหนังสือตอบอุปนายกสภากาชาดสยามเรื่องนี้ว่า รัฐบาลอุดหนุนได้งบประมาณปีละ 252,000 บาท และเรื่องสิทธิพิเศษมี 2 แบบ คือ สิทธิพิเศษถาวร คือ พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสภานายก (President of the Red Cross) และอุปนายก (Vice President of the Red Cross) ซึ่งทั้ง 2 ตำแหน่งมีฐานะเสมอรัฐมนตรี และได้รับการยกเว้นภาษียานพาหนะ รวมทั้งมีสิทธิพิเศษในบางโอกาส เช่น อนุญาตให้จำหน่ายลอตเตอรีในยามที่สภากาชาดประสบปัญหาทางการเงิน

1. Government Subvention… Total 252,000 baths

2. Privileges

(a) Permanent Privileges By Royal authorization the president or vice-president of the Red Cross may refer requests appertaining to Red Cross Affairs to the King, and is authorized to get into direct touch with the Ministers of the Government in regard to Red Cross matters. Exemption of Taxation on automobile vehicle.

(b) Occasional Privileges - The general effect of the trade depression has been to reduce all incomes. The resources of The Red Cross Society are likewise affected. In order to enable the Society to tide over the present crisis, permission has been granted to organize a Red Cross Lottery in the present year B.E. 2475…

 

2476 - 2 โครงสร้างกรมสาธารณสุข(29)

วันที่ 29 มกราคม พ.. 2476 กรมสาธารณสุขแบ่งส่วนราชการดังนี้

(1) สำนักงานเลขานุการกรม แบ่งเป็น 3 แผนก คือ แผนกสารบรรณ / แผนกห้องสมุด /แผนกเบ็ดเตล็ด

(2) สำนักงานคณะกรรมการแพทย์ (Medical Council ปัจจุบันคือ แพทยสภา)

(3) กองคลัง (แผนกการเงิน / แผนกบัญชี / แผนกพัสดุ)

(4) กองสถิติพยากรณ์ชีพ (แผนกกลาง / แผนกเอกสารสาธารณสุข / แผนกหน่วยสุขศึกษา)

(5) กองสุขศึกษา (แผนกกลาง / แผนกเอกสารสาธารณสุข / แผนกหน่วยสุขศึกษา)

(6) กองโรคติดต่อ (แผนกกลาง / แผนกโรคติดต่อ / แผนกด่านกักโรค / แผนกตรวจคนเข้าเมือง)

(7) กองชันสูตร (แผนกกลาง / แผนกตรวจวัตถุ / แผนกตรวจน้ำ)

(8) กองสาธารณสุขท้องที่ (แผนกกลาง / แผนกสุขาภิบาล / แผนกสงเคราะห์มารดาและทารก / แผนกบำบัดโรค / แผนกอาหารและยา / แผนกเชื้อโรค)

(9) กองสาธารณสุขพระนคร (แผนกกลาง / แผนกโรคติดต่อ / แผนกสุขาภิบาล / แผนกสุขศาลา / แผนกสงเคราะห์มารดาและเด็ก / แผนกอาหารและยา / โรงพยาบาลโรคติดต่อ)

(10) กองโอสถศาลา (แผนกกลาง / แผนกคลังเวชภัณฑ์ / แผนกจัดเวชภัณฑ์)

(11) วชิรพยาบาล

(12) โรงพยาบาลกลาง

(13) โรงพยาบาลโรคจิต

(14) กองอนาถาพยาบาล

(15) โรงพยาบาลโรคเรื้อน

 

2476 - 3 พระราชบัญญัติการแพทย์ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2476(30)

วันที่ 10 มีนาคม พ.. 2476 รัฐบาลได้ออกกฎหมายแก้ไขพระราชบัญญัติการแพทย์เพื่อเปลี่ยนชื่อนิยามและองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ดังนี้

สภาการแพทย์แก้เป็นคณะกรรมการแพทย์

สภานายกสภาการแพทย์แก้เป็นประธานคณะกรรมการแพทย์

อุปนายกสภาการแพทย์แก้เป็นรองประธานคณะกรรมการแพทย์

 

2476 - 4 สภากาชาดจัดตั้งสถานีบรรเทาทุกข์ เนื่องด้วยการปราบกบฏ(31)

วันที่ 12 ตุลาคม พ.. 2476 กองบรรเทาทุกข์และอนามัยได้ทราบการเกิดกบฏและจลาจล จึงเตรียมการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

วันที่ 14 - 23 ตุลาคม พ.. 2476 นายแพทย์ใหญ่ ทหาร และ พ..หลวงพิบูลย์สงครามขอให้จัดรถไปช่วยลำเลียงทหารบาดเจ็บ 21 คนที่เตาปูน

วันที่ 17 ตุลาคม พ.. 2476 ได้จัดตั้งสถานีบรรเทาทุกข์ชั้นที่ 1 ที่วัดเทวสุนทร ตำบลสี่แยกบางเขน (ตำบลสู้รบ) ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ที่ประสบภัย ได้ช่วยเหลือประชาชน

) ตรวจรักษาคนเจ็บไข้เล็กน้อย 1,123 คน

) แจกอาหาร 5,727 ครอบครัว

) จ่ายเงินเดินทางกลับภูมิลำเนา

) จ่ายเสื้อผ้า และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเงิน 10,000 บาทแก่สภากาชาดสยามเป็นทุนในการรักษาพยาบาล

วันที่ 28 ตุลาคม พ.. 2476 เหตุการณ์กลับสู่ปกติ จึงเลิกถอนสถานีบรรเทาทุกข์ชั้นที่1 ที่วัดเทวสุนทร (สี่แยกบางเขน)

 

.. 2477

2477 - 1 นายแพทย์ที่มีอยู่ไม่พอแก่ความต้องการ(32)

วันที่ 22 พฤษภาคม พ.. 2477 หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีหนังสือเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ ความว่า

...นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาได้เสนอว่า ตามกระทรวงบางกระทรวงเวลานี้ปรากฏว่ายังขาดนายแพทย์อยู่ เช่น กระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้เพราะการเพาะนายแพทย์ในปีหนึ่ง ๆ น้อยไป มีแพทย์ที่สำเร็จการเรียนในปีหนึ่งมีจำนวนน้อยและเป็นแพทย์ชั้นปริญญา ความจำเป็นที่จะต้องใช้นายแพทย์ปริญญาทุกคนในเวลานี้ เห็นว่ายังไม่สู้จำเป็นนัก...เช่นแพทย์หลวงประจำท้องที่ แพทย์ประจำสถานีอนามัย ผู้บังคับหมู่เสนารักษ์ เป็นต้น ควรจะให้แต่แพทย์ประกาศนียบัตรก็พอ ส่วนแพทย์ปริญญาควรประจำรักษาพยาบาลที่สำคัญ ๆ หรือในแผนกค้นคว้าวิทยาการ หรือในโรงเรียนแพทย์ ด้วยเหตุผลดั่งกล่าวนี้ เห็นว่า กระทรวงธรรมการควรจะหาวิธีเพาะนายแพทย์โดยเปิดการเรียนขึ้นอีกแผนกหนึ่ง คือ แพทย์ประกาศนียบัตร เมื่อเรียนสำเร็จแล้วให้ออกรับราชการในตำแหน่งข้าราชการชั้นสัญญาบัตร และท่านได้เสนอว่า เรื่องนี้กระทรวงธรรมการได้ดำริอยู่เหมือนกัน เวลานี้กำลังปรึกษาหารืออยู่กับสภากาชาด และกรมสาธารณสุข...

2477 - 2 โครงการสร้างโรงพยาบาลหัวเมือง(33)

วันที่ 18 กรกฎาคม พ.. 2477 กรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย จัดทำโครงการสร้างโรงพยาบาลหัวเมืองเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการ โดยมีความมุ่งหมายจะสร้างโรงพยาบาลขึ้นในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อให้มีทั่วถึงกันทุกจังหวัดภายใน 4 ปี นับตั้งแต่ พ.. 2477 เป็นต้นไป การสร้างได้เฉลี่ยเป็นภาค ๆ และเริ่มจากชายเขตแดนเข้ามาก่อน เพราะเกี่ยวกับ Prestige (ศักดิ์ศรี) ของชาติ โรงพยาบาลที่จะสร้างขึ้นนั้นมี 2 ขนาด คือ

1. ขนาดกลาง - ให้มีเตียงรับคนไข้ได้ตั้งแต่ประมาณ 35 - 150 เตียง ประมาณค่าก่อสร้างและเครื่องใช้เครื่องมือแห่งละ 95,800 บาท

2. ขนาดเล็ก - กำหนดให้มีเตียงรับคนไข้ได้ตั้งแต่ 25 ถึง 50 เตียง ประมาณค่าก่อสร้างและเครื่องใช้เครื่องมือแห่งละ 56,200 บาท

 

แผนงานตามโครงการโรงพยาบาลหัวเมือง

- .. 2477 สร้างโรงพยาบาลขนาดกลาง 2 แห่ง (อุบลราชธานี /นครพนม) ขนาดเล็ก 8 แห่ง (หนองคาย / นราธิวาส / สกลนคร / ปัตตานี /ยะลา / จันทบุรี / ตาก / สตูล)

 

815 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

- .. 2478 สร้างโรงพยาบาลขนาดกลาง 3 แห่ง (อุดรธานี / เชียงราย / มหาสารคาม) ขนาดเล็ก 13 แห่ง (น่าน / ชัยภูมิ / แม่ฮ่องสอน / บุรีรัมย์ / กระบี่ / พังงา / ปราจีนบุรี / ตรัง / สุรินทร์ / กำแพงเพชร / เพชรบูรณ์ / พัทลุง / เลย)

- .. 2479 สร้างโรงพยาบาลขนาดกลาง 3 แห่ง (ขอนแก่น / นครศรีธรรมราช / ร้อยเอ็ด) ขนาดเล็ก 13 แห่ง (ลำปาง / ตราด / ระยอง / ชุมพร / สุราษฎร์ธานี / อุทัยธานี / ชัยนาท / ขุขันธ์ / อุตรดิตถ์ / นครนายก / พิจิตร / สวรรคโลก / ลำพูน)

- .. 2480 สร้างโรงพยาบาลขนาดกลาง 4 แห่ง (พิษณุโลก / ฉะเชิงเทรา / แพร่ / ราชบุรี) ขนาดเล็ก 13 แห่ง (ลพบุรี / ประจวบคีรีขันธ์ / สมุทรสงคราม / สมุทรสาคร / นครปฐม / สิงห์บุรี / สระบุรี / ปทุมธานี / อ่างทอง /เพชรบุรี / กาญจนบุรี / นนทบุรี / สมุทรปราการ) รวมเป็นเงินที่ต้องจ่ายทั้งหมด 4,051,000 บาท

 

.. 2478

 

2478 - 1 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสละราชสมบัติ

วันที่ 2 มีนาคม พ.. 2477 (นับอย่างปัจจุบันคือ พ.. 2478) พระบาทสมเด็จ-พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหัตถเลขาทรงสละราชสมบัติขณะประทับ ณ ต่างประเทศ

...ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดย สิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร...บัดนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า ความประสงค์ของข้าพเจ้า ที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียง ในนโยบายของประเทศไทยโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่า บัดนี้เปนอันหมดหนทาง ที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือ ให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้วข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติ และออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์ แต่บัดนี้เปนต้นไป...

 

816 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

เชิงอรรถ

1 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย มร 7 ม/70 - ม7.1/4 โรงพยาบาลนครสวรรค์

2 ราชกิจจานุเบกษา 43 (30 พฤษภาคม 2469), หน้า 1004

3 แจ้งความกระทรวงมหาดไทยราชกิจจานุเบกษา 43 (20 มิถุนายน 2469), หน้า 1254 - 1258

4 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย มร 7 ม/70 - ม7.1/5 โรงพยาบาลมณฑลปัตตานี

5 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย มร 7 ม/12 - ม7.5/1 จัดการประชาภิบาลคือ เทศบาล

6 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย มร 7 ม/70 - ม7.1/6 โรงพยาบาลจังหวัดสุพรรณบุรี

7 พระราชบัญญัติหางน้ำนม พุทธศักราช 2470ราชกิจจานุเบกษา 44 (25 กุมภาพันธ์ 2470) ที่ออกพระราชบัญญัติฉบับนี้ สืบเนื่องจากการเสด็จฯ เลียบมณฑลพายัพ นายแพทย์คอร์ตกราบบังคมทูลถึงผลร้ายของการใช้หางน้ำนมเลี้ยงทารกอย่างแพร่หลาย

8 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย มร 7 ม/10 - ม 7/1 เรื่องตั้งสภาสาธารณสุข

9 ราชกิจจานุเษกษา 56 (27 พฤศจิกายน 2482), หน้า 1884 - 2027

10 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย มร 7 ม/70 - ม7.1/10 โรงพยาบาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี

11 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย มร 7 ม/70 - ม7.1/13 โรงพยาบาลจังหวัดปทุมธานี

12 ประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติการแพทย์เพิ่มเติมราชกิจจานุเบกษา 46 (5 พฤษภาคม 2472), หน้า 14 - 16

13 กฎเสนาบดีตามความในมาตรา 8 และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการแพทย์ 2466ราชกิจจา-นุเบกษา 46 (12 มิถุนายน 2472), หน้า 46 - 67

14 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ 7 กรมศึกษาธิการ มร 7 ศ/4 - ศ7.2/4 เรื่องให้ปริญญาแพทย์

15 Baccalaureus เป็นคำศัพท์ละติน มีความหมายว่า A Bachelor’s Degree

16 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย มร 7 ม/70 - ม7.1/12 โรงพยาบาลกลาง

17 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย มร 7 ม/70 - ม7.1/14 ส่งแพทย์ไปดูวิธีและระเบียบการบำบัดโรคต่าง ๆ ณ เมืองต่างประเทศ

18 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย มร 7 ม/29 ม26.4/142 เรื่องการปกครองโดยลักษณะเทศบาลซึ่งอธิบดีกรมสาธารณสุขทรงแสดงในที่ประชุมเทศา พ.. 2472

19 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ 5 กระทรวงมหาดไทย กร 5 อ/3 - อ 5.3/14 เรื่องรายงานรัฐมนตรีสภา ร่างพระราชกำหนดชื่อกฎหมาย

20 สถาบันพระปกเกล้า คลังความรู้หมวดหมู่ เรื่องประวัติและความเป็นมาของเทศบาล

21 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย มร 7 ม/70 - ม7.1/17 โรงพยาบาลจังหวัดสระบุรี

22 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย มร 7 ม/70 - ม7.1/18 โรงพยาบาลจังหวัดบุรีรัมย์

23 พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยามหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สืบค้นออนไลน์ http://www.memocent.chula.ac.th/

24 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย มร 7 ม/70 - ม7.1/20 โรงพยาบาลจังหวัดกระบี่

 

 

817 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

25 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย มร 7 ม/70 - ม7.1/19 โรงพยาบาลจังหวัดอ่างทอง

26 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ 7 เอกสารกระทรวงกลาโหม มร 7 ก/1 - ก1/9 เรื่องการแก้ไขเปลี่ยนแปลงราชการทหารบกเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพ และเรื่องโครงการทหาร พ.. 2475

27 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ 7 เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ม (2) สร 0201/208 เรื่องกรรมการวางโครงการสาธารณสุข

28 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สร 0201.6/3 เรื่องสันนิบาตกาชาดขอทราบการอุดหนุนและเอกสิทธิที่สภากาชาดสยามได้รับจากรัฐบาล

29 พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงมหาดไทย พุทธศักราช 2476ราชกิจจานุเบกษา 50 (30 มกราคม 2476), หน้า 894

30 พระราชบัญญัติการแพทย์ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2476ราชกิจจานุเบกษา 50 (18 มีนาคม 2476), หน้า 984

31 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สร 0201.6/6 เรื่องจัดตั้งสถานีบรรเทาทุกข์ เนื่องด้วยการปราบกบฏ

32 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ม (2) สร 0201/208, หน้า 6

33 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ม (2) สร 0201/211 เรื่องโครงการสร้างโรงพยาบาลหัวเมืองของกระทรวงมหาดไทย